วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1.แรม
     RAM ย่อมาจากคำว่า RandomAccessMemoryเป็นหน่วยความจำของระบบมีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไป ให้CPUประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chipที่เป็น IC ตัวเล็กๆ
ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
     เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDRSDRAM,DDRSGRAM)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก
เทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบSDRAMและSGRAMและอีกหนึ่ง
คือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
ประเภทของแรม
เราสามารถแบ่ง แรม ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

      1. SRAMหรือมาจากคำเต็มว่าStaticRAMซึ่งจะเป็นหน่วยความ จำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลาค่ะโดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลSRAMจะ มีความเร็วในการทำงานสูงแต่ในขณะเดียวกันSRAMก็จะกินไฟมาก
และมีราคาแพงกว่าDRAMมากดังนั้นเราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลักแต่ จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน

      2. DRAMหรือมาจากคำ ว่าDynamicRAMซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เลยเพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไป
สำหรับการรีเฟรช(Refresh)ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิดDRAMนี้จะ เก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้าซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติม ประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนดดังนั้นจึงต้อง มีวงจรสำหรับ
การทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิดDRAMแต่หน่วยความจำชนิดDRAMก็มีข้อดีของมัน เหมือนกันนั่นก็คือมีราคาที่ถูกและสามารถเก็บ ข้อมูลได้มากกว่าด้วยดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAM นี้มาเป็นหน่วยความจำหลัก
ของระบบคอมพิวเตอร์
แรมแบบ DRAM สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้
1. EDO DRAM
     ย่อมาจากคำว่า Extended Data Out DRAM ค่ะ ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ไมครอนหน่วยความจำชนิด EDO เริ่มมีใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมในยุคแรกๆและจะมี72Pin
สำหรับเสียบสล็อตแบบSIMM(SingleInlineMemoryModule)จะทำงานใน
แบบ32บิตเพราะว่ามีหน้าสัมผัสเพียงแค่ด้านเดียวค่ะเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ กับซีพียูที่ทำงานในแบบ64บิตก็จะต้องใส่เป็นคู่ค่ะถึงจะสามารถทำงานได้
ปัจจุบันอาจจะดูล้าสมัยไปแล้วเพราะเป็นแรมชนิดที่เก่าและทำงานได้ช้าจึงไม่ นิยมใช้กันแล้ว

รูปแสดงแรมชนิด EDO DRAM


2. SDRAM
     ย่อมาจากคำว่า Rambus DRAM ค่ะ คือจะเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM และ SDRAM จะมีลักษณะเป็นแผงจำนวน168Pinสำหรับเสียบลงในสล็อตแบบ DIMM(DualInlineMemoryModule)เพราะว่ามีหน้าสัมผัสทั้งสองด้าน
จึงทำงานได้ในแบบ64บิตเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้เราก็สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ด ทีละ 1 อันได้เลยค่ะ โดย SDRAM จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลตั้งแต่ 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz เป็นต้นค่ะ ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ
SDRAM จะค่อยๆ ลดความนิยมไปแล้ว และคิดว่ากำลังจะหายไปจากตลาดในไม่ช้านี้
รูปของแรมชนิด SDRAM

3. DDR SDRAM หรือ SDRAM II
DDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate Synchronous DRAM ค่ะ เป็นแรมที่มีการพัฒนาต่อจาก SDRAM ค่ะ เพื่อที่จะให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเลยDDRSDRAMได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแข่งกับแรมแบบRambusและ
DDRSDRAMมีขนาดความจุตั้งแต่128MBขึ้นไปค่ะซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผงไว้
สำหรับเสียบลงในสล็อตแบบDIMMเหมือนกันกับSDRAMเพียงแต่ว่าDDRSDRAMจะ มี184Pinและเป็นแรมที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ แถมราคาก็ไม่แพงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ Rambus DRAM ค่ะ โดยในปัจจุบัน
DDR SDRAM มีออกมาให้ใช้กันอยู่ 3 รุ่น คือ รุ่น PC1600, PC2100 และPC2700ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีความเร็ว200MHz,266MHzและ333MHzและนอกจากนี้ มันยังสามารถใช้งานกับซีพียูชนิดใดก็ได้ค่ะไม่มีข้อจำกัดและใน
ปัจจุบัน DDR SDRAM ยังถือเป็นหน่วยความจำที่มีมาตรฐานด้วย
รูปของแรมชนิด DDR SDRAM หรือ SDRAM II


4. RDRAM
ย่อมาจากคำว่าRambusDRAMเป็นแรมที่มีความเร็วมากที่สุดและมีราคาแพงมากที่ สุดด้วยค่ะจะมีจำนวน184PinและRDRAMเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูก
พัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท Rambus และมี บริษัท Intel เป็นผู้สนับสนุนด้วยค่ะ แรมชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความเร็วระบบบัสที่สูงขึ้นถึง 400 MHz
และ800MHzซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานประเภทมัลติมีเดียอย่างเช่นการใช้แสดง ภาพ3มิติเป็นต้นและจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยและก็มีลักษณะเป็นแผง
โดยแต่ละแผงจะเสียบลงในช่องของRambusหนึ่งช่องซึ่งจะเรียกว่าRIMMคือ RambusInlineMemoryModuleซึ่งจะใส่แค่เพียงหนึ่งช่องแค่นี้เครื่องคอมพิวเต อร
์ของคุณก็จะสามารถทำงานได้แล้ว และแรมชนิดนี้ Intel ตั้งใจจะนำมาใช้งานกับซีพียู รุ่น Pentium 4 เท่านั้นค่ะ และเมนบอร์ดก็จะต้องใช้ชิปเช็ตที่สนับสนุนด้วย
ซึ่งได้แก่ ชิปเซ็ต i850 ของอินเทลเป็นต้นค่ะ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เพราะว่ามีราคาแพง


..............................................................................................

2.ซีพียู CPU
     ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือ ส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วย เพื่อให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล
     หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units)คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอน ย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้

     1. ระบบเลขฐานสอง
หรือ ไบนารี (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด คำสั่งทุกคำสั่งที่ ไมโครโพรเซสเซอร์รับมาประกอบจากคำสั่งหลายๆคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์คอมไพล์มา จากภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น (BASIC, COBAL, C) เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจคำสั่งเหล่านี้ จะต้องแปลงให้เป็นไบนารีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน decode unit ของไมโครโพรเซสเซอร์

     2. แอดเดรสคือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่ อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำหรือStorageข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลจะแสดงด้วย แอดเดรสของข้อมูล ไม่ใช่ค่าจริงๆของข้อมูล

    3. บัส
ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไป ยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) หรือระบบบัส(systembus)ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์ พุตหน่วยความจำหลักและซีพียูภายในซีพียูเองก็มี
บัสภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างย่อยในชิป
      4. หน่วยความจำแคช
แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก โปรเซสเซอร์จะมีแคช 2 แบบคือ แคชระดับหนึ่ง (Primary cache หรือ L1) และแคชระดับสอง (secondary cache หรือ L2) ต่างกันตรงตำแหน่ง โดย L1 cache อยู่บนซีพียู เรียกว่า on-die cache ส่วน L2 cache อยู่บนเมนบอร์ด เรียกว่า off-die แต่ในปัจจุบัน L2 cache เป็น on-die กันแล้ว หน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บคำสั่งและข้อมูลก่อนที่จะส่งให้ซีพียู

     5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา
หมายถึงจำนวนรอบที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไป หนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดงด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที (โปรเซสเซอร์คนละชนิดหรือคนละรุ่นถึงแม้จะมีสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่อาจเร็วไม่เท่ากันก็ได้ เพราะมีโครงสร้างภายในและชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน)

     6. รีจิสเตอร
์ เป็นหน่วยความจำไดนามิกขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครง สร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ หรือส่งไปแสดงผลให้แก่ยูสเซอร์

     7. ทรานซิสเตอร์
เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยชั้นของวัสดุที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ซึ่งสามารถขยายกระ แสไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ต่อ

      8. Arithmetic logic unit (ALU)
เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ การเปรียบเทียบ เชิงตรรกะเป็นการเปรียบเทียบค่าไบนารีเพื่อหาว่า ควรจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเกตบางตัวในวงจรของโปรเซสเซอร์หรือไม่ การทำงานอยู่ในรูปแบบของ  "ถ้า x เป็นจริง และ y เป็นเท็จ แสดงว่า z เป็นจริง"

    9. Floating - Point Unit (FPU)
มีหน้าที่จัดการกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับ เลขทศนิยมหรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วนการคำนวณเลขทศนิยม
มักเกิดขึ้นเมื่อพีซีรันโปรแกรมพวกกราฟฟิก เช่นโปรแกรม CAD หรือเกมส์ 3 มิติ

     10. Control Unit
หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ
         fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู
         decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit
         execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และ ตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม
         store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม

     11. Decode unit
รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล

.......................................................................................................

3.เมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง
เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"
ชนิดของเมนบอร์ด
     สามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น2ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้างและเมน บอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ต
ใส่ซีพียู
เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง
    เมนบอร์แบ่งตามโครงาร้างเรียกว่าFormFactorsหมายถึงการจำแนกเมนบอร์ดเป็น ชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้าง
ขนาดและรูปร่างตามมาตรฐานแล้วจะมีแบบATและATXแต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATX
ก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป

                             

         เมนบอร์ดแบบ AT                               เมนบอร์ดแบบ ATX

เมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู

เมนบอร์ดแบบนี้ถูกออกแบบมารองรับกับการใช้งานซีพียูแต่ละรูปแบบโดย เฉพาะเนื่องจากซีพีย
ูในปัจจุบันมีรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกัน ซ็อคเก็ตใส่ซีพียูจึงไม่เหมือนกันไปด้วย แต่ข้อแตกต่าง
ที่กล่าวมานี้เกิดจากชิปเซ็ตเป็นตัวกำหนด เมนบอร์ดที่ใช้ชิบเซ็ตชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติและความสามารถ
เหมือนกันสำหรับเมนบอร์ดในปัจจุบันที่ยังนิยมใช้กันสามารถแบ่งตามซ็อคเก็ต ใส่ซีพียูได้ดังนี้คือ แบบSocket 7,
Socket 370,Socket A,Slot A,Slot 1 สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 2 ซึ่งเป็นของอินเทลที่ใช้สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์
และเมนบอร์ดแบบSocket 3,4,5 ซึ่งเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าในปัจจุบันไม่มีการผลิตเพิ่มแล้ว

....................................................................................................

4.สแกนเนอร์ (Scanner)

คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
2. สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
3. สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)

สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไป บนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

เทคโนโลยีการสแกนภาพ

   *
     แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
     เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสูญญากาศให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง
   *
     แบบ CIS (Contact Image Sensor)
     เทคโนโลยีแบบ CIS หรือ Contact image sensor ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึงเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสง จะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง , น้ำเงิน และ เขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาณ 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้
   *
     แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
     เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charged-coupled device ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อน กลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอล เป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใส แสงที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อน หรือถ้ามีการสะท้อน ก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้ หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึงอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapter


ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

   *
     ภาพ Single Bit
     ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
     Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
     Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
   *
     ภาพ Gray Scale
     ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
   *
     ภาพสี
     หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้ สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
   *
     ตัวหนังสือ
     ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

อุปกรณ์เก็บข้อมูล

     มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายชนิดสำหรับ PC ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ และออปติคัลไดรฟ์ ที่ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องหลัก หรือแฟลชดิสก์, การ์ดหน่วยความจำ และออปติคัลไดรฟ์แม่เหล็ก (MO) ฯลฯ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เริ่มมีความสามารถหลายด้านมากขึ้น ระบบก็ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์ต่างๆ ทำให้ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลสำหรับ PC ทุกเครื่อง
นอกจากนี้ โมดูลหน่วยความจำยังอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ยกเว้นแต่ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เมื่อ PC ปิด หรือเมื่อสิ้นสุดแอปพลิเคชั่น ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำจะถูกลบออก เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับการรันโปรแกรมอื่นต่อไปในอนาคต ฮาร์ดดิสก์ นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลระยะยาว ผู้ใช้มักจะเก็บเวิร์กชีต, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาลงบนฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ว่าจะเก็บไว้ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแฟลชดิสก์

     ออปติคัลไดรฟ์ หรือเครื่องเบิร์น ใช้ในการอ่านไดรเวอร์ หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่เก็บอยู่ในแผ่น CD เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกในการโหลดแล้ว ความสำคัญของออปติคัลไดรฟ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ด้วยการใช้เครื่องเบิร์น คุณสามารถเบิร์นข้อมูลลงในดิสก์ นอกจากเบิร์น CD แล้ว ยังสามารถเบิร์นดิสก์ที่มีความจุขนาดใหญ่ได้ (4.7GB สำหรับแผ่น DVD ด้านเดียว ชั้นเดียว) แผ่นเหล่านี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ยาวนาน ผู้ใช้อาจสามารถสร้างดิสก์ที่บรรจุภาพยนตร์ หรือดนตรีสำหรับเล่นโดยใช้เครื่องเล่น DVD ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของเครื่อง PC

                        


ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์เคยใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในยุคสมัยของ DOS ด้วยความจุ 1.44MB ซึ่งอาจมองดูแล้วไม่เพียงพอ และแผ่นดิสก์ฟล็อปปี้ยังเก็บรักษายาก นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นการบูตในปัจจุบันนั้นถูกแทนที่ด้วยแฟลชดิสก์ หรือแผ่น CD ได้แล้ว กระนั้นก็ตาม แม้พิจารณาถึงความจริงเหล่านี้แล้ว ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณจำเป็นต้องใช้แผ่นฟล็อปปี้เมื่อทำการติดตั้งไดรเวอร์ซีเรียล ATA ก่อนที่จะทำการติดตั้ง Windows XP คุณควรติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ไว้ใน PC สำหรับใช้งานที่ยามที่จำเป็น


คอมโบไดรฟ์
พูดโดยทั่วไปแล้ว ความจุของแผ่น CD-R ซึ่งมีความจุ 80 นาที/700MB ค่อนข้างที่จะเพียงพอสำหรับ การสำรองข้อมูลในสถานการณ์ส่วนมาก จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของเครื่องเบิร์นนั้นได้มาถึงจุดสูงสุด และราคาก็เป็นที่ยอมรับได้ในหมู่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เครื่องเบิร์นกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการสร้าง PC ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่มีข้อกำหนดของ DVD ออกมา ไดรฟ์ CD-R/RW ก็ได้เสริมฟังก์ชั่นการอ่านของไดรฟ์ DVD-ROM เข้าไปด้วยเพื่อสร้างเป็นคอมโบไดรฟ์ ความแตกต่างด้านราคาระหว่างคอมโบไดรฟ์ และไดรฟ์ CD-R/RW นั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ไม่กี่ร้อยบาท) ดังนั้นการอัปเกรดไปเป็นคอมโบไดรฟ์ จึงนับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า


เครืองเบิร์น DVD
แม้ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ข้อได้เปรียบของความจุขนาด 4.7 GB (ด้านเดียว ชั้นเดียว) ของแผ่น DVD ก็ทำให้เครื่อง เบิร์น DVD เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ด้วยการเปิดตัวเครื่องเบิร์นที่สนับสนุนทั้งมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW และแผ่นดิสก์สองชั้นแบบใหม่ที่เป็นที่หมายตาของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องเบิร์น DVD จึงมีโอกาสเข้ามาแทนที่เครื่องเบิร์น CD-R/RW ในอนาคต


ฮาร์ดดิสก์
     ในบรรดาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของฮาร์ดดิสก์ ความเร็วการหมุนนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ความเร็วการหมุนปัจจุบันสำหรับทั้งฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA และ IDE ขนาด 3.5 นิ้วก็คือ 7200RPM; ในขณะนี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็ว 5400 RPM นั้นไม่ค่อยพบแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งก็คือบัฟเฟอร์หน่วยความจำ ในขณะที่บัฟเฟอร์หน่วยความจำสูงขึ้น ความเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ในการเข้าถึงข้อมูลซ้ำๆ บนฮาร์ดดิสก์ก็เร็วขึ้นด้วย และสมรรถนะการเข้าถึงก็เพิ่มขึ้นด้วย บัฟเฟอร์หน่วยความจำของฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะเป็น 8 MB และความแตกต่างด้านราคาจากชนิด 2MB นั้นเล็กน้อยมาก ซึ่งคุณควรซื้อชนิด 8 MB มาใช้จะดีกว่า



ซีเรียล ATA V.S IDE
     นวัตกรรมของชิปเซ็ต Intel 915 และ 925 ไม่เพียงแต่เป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ของ DDR2 และ PCI Express เท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ซีเรียล ATA เพื่อทดแทน IDE อีกด้วย ชิปเซ็ต 945 และ 955 สนับสนุนซีเรียล ATA 3.0 Gb/s ซึ่งมีการขยายความยาวสายเคเบิลจาก 1 เมตรไปเป็น 2 เมตร และเพิ่มอัตราการถ่ายโอนเป็น 3Gbps (1.5 Gbps สำหรับซีเรียล ATA) พร้อมกับผนวกรวมคุณสมบัติฮ็อตพลัก, ฮ็อตสว็อป และ Native Command Queue (NCQ) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเข้ากันได้ที่อาจเกิดขึ้น

นอกเหนือจากฮาร์ดดิสก์แล้ว ออปติคัลไดรฟ์และเครื่องเบิร์นก็ใช้อินเตอร์เฟซ IDE เช่นกัน อินเตอร์เฟซ IDE มีการพัฒนาจาก ATA33, ATA66 และ ATA100 ไปเป็น ATA133 โดยที่มีแบนด์วิธใหญ่ขึ้น ขั้วต่ออินเตอร์เฟซนั้นมีความเข้ากันได้กับรุ่นก่อนหน้า สายเคเบิล IDE สามารถเป็นได้ทั้งแบบธรรมดา และแบบความหนาแน่นสูง ด้านซ้ายของรูปคือสาย ATA33 ธรรมดาสำหรับต่อกับออปติคัลไดรฟ์ ที่ด้านขวาเป็นสายความหนาแน่นสูง ATA66 ที่มีช่วงระหว่างสายเล็กกว่า การใช้สาย ATA33 เพื่อเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ ATA100 หรือ ATA133 จะทำให้ได้สมรรถนะที่ย่ำแย่จากฮาร์ดดิสก์

นอกจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการถ่ายโอน ความยาวของสายเคิลซีเรียล ATA นั้นก็ยาวกว่าสายเคเบิล IDE ถึง 46 ซม. และขนาดของสายก็ลดลงอย่างมาก การออกแบบดังกล่าวก็เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ และสามารถป้องกันไม่ให้สายเคเบิลขวางกั้นการระบายอากาศเพื่อเพิ่มความเย็นภายในตัวเครื่อง ไม่เหมือนกับ IDE สายซีเรียล ATA นั้นใช้การออกแบบแบบจุดต่อจุด และไม่จำเป็นต้องใช้จัมเปอร์เพื่อตั้งค่า Master หรือ Slave

รูปด้านบนคือขั้วต่อซีเรียล ATA; รูปด้านล่างของอินเตอร์เฟซ IDE ขั้วต่อเพาเวอร์ของฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA นั้นแตกต่างออกไป ถ้าแหล่งจ่ายไฟไม่สนับสนุนขั้วต่อเพาเวอร์แบบซีเรียล ATA คุณจำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์